ภาพรวมของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบุคลากรวิชาชีพขั้นสูงทางด้านครู สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการ ในการสร้างนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้จากการวิจัย เพื่อนำไปพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ระบบการศึกษา และบริการวิชาการที่หลาก หลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนา คุณธรรม จริยธรรม และนำไปสู่คุณภาพชีวิตอย่างยั่นยืน มีความรู้ความสามารถเชิงวิชาการในการสร้างนวัตกรรม องค์ความรู้จากการวิจัย มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาให้หลากหลายและประยุกต์ใช้ได้กับผู้เรียนวัยต่าง ๆ มีทักษะในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ทางสุขศึกษาและพลศึกษาที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้จากการวิจัย มีภาวะผู้นำทางด้านสุขศึกษาและพลศึกษา โดยแสวงหาข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อการก้าวสู่สังคมประเทศอาเซียน มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการจัดการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้จากการวิจัย
ภาคเรียนที่ 1
พลบ 701 สถิติวิเคราะห์ทางสุขศึกษาและพลศึกษา 3(2-2-5)
พลบ 702 วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางสุขศึกษาและพลศึกษา 3(2-2-5)
พลบ..... วิชาเอกวิชาที่ 1 3(2-2-5)
รวม 9 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
พลบ 703 สัมมนาประเด็นและแนวโน้มทางสุขศึกษาและพลศึกษา 3(2-2-5)
พลบ..... วิชาเอกวิชาที่ 2 3(2-2-5)
พลบ..... วิชาเอกวิชาที่ 3 3(2-2-5)
รวม 9 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 1
พลบ..... วิชาเลือก 1 รายวิชา 3(2-2-5)
รวม 3 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ปพอ 891 ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 12 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 1
ปพอ 891 ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 12 หน่วยกิต
ภาคเรียนที่ 2
ปพอ 891 ปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 12 หน่วยกิต
การเรียนการสอน
นิสิตจะได้รับการศึกษาผ่านวิธีการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เช่น การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ กิจกรรมกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นต้น นอกจากนี้ นิสิตจะได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมผ่านทางการเขียนรายงาน การนำเสนองานโดยวิธีบรรยาย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การวิเคราะห์เทคนิคเชิงตัวเลขและสถิติ การศึกษาดูงานในองค์กร หน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของการวิจัย นิสิตจะได้รับการดูแล ให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาตลอดระยะเวลาการทำวิจัยรวมถึงการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จากคณะและมหาวิทยาลัย โดยประยุกต์ระบบการเรียนการสอนเชิงบูรณาการเพื่ิอตอบสนองต่อความต้องการของประเทศในการผลิตดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
การประกอบอาชีพ
- อาจารย์ในสถาบันการศึกษา
- นักวิชาการด้านสุขศึกษาและพลศึกษา
- นักวิจัยทางสุขศึกษาและพลศึกษา
- ผู้นำทางการศึกษาด้านสุขศึกษาและพลศึกษา
- บุคลากรทางการศึกษาและอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง